หมวดสินค้าหลัก

รวมกฏหมายที่ควรรู้เอาไว้

การแจ้งเกิด

 

ข้อมูลจาก กรมการปกครอง กระทรวงมหาดไทย

หลักเกณฑ์ / คุณสมบัติ

เมื่อมีคนเกิดต้องแจ้งชื่อคนเกิดให้ถูกต้องตามหลักการตั้งชื่อบุคคล พร้อมกับการแจ้งการเกิด

          1. คนเกิดในบ้าน ให้เจ้าบ้านหรือบิดาหรือมารดาแจ้งต่อนายทะเบียนผู้รับแจ้งแห่งท้องที่ที่มีคนเกิดในบ้าน ภายในสิบห้าวันนับแต่วันเกิด

          2. คนเกิดนอกบ้าน ให้บิดาหรือมารดาแจ้งต่อนายทะเบียนผู้รับแจ้งแห่งท้องที่ที่มีคนเกิดนอกบ้านหรือแห่งท้องที่ที่จะพึงแจ้งได้ ภายในสิบห้าวันนับแต่วันเกิด ในกรณีจำเป็นไม่อาจแจ้งได้ตามกำหนด ให้แจ้งภายหลังได้แต่ต้องไม่เกินสามสิบวันนับแต่วันเกิด

 

เอกสารที่ใช้

สำเนาทะเบียนบ้านฉบับเจ้าบ้าน

บัตรประจำตัวประชาชนผู้แจ้ง

หนังสือรับรองการเกิดจากโรงพยาบาล (ถ้ามี)

ขั้นตอนการดำเนินงาน

ผู้แจ้งยื่นเอกสารและหลักฐานต่อนายทะเบียนแห่งท้องที่ที่เด็กเกิด

นายทะเบียนตรวจสอบหลักฐานกับทะเบียนบ้าน และลงรายการในสูติบัตรแล้วเพิ่มชื่อเด็กในทะเบียนบ้านและสำเนาทะเบียนบ้านฉบับเจ้าบ้าน

แล้วมอบสูติบัตรตอนที่ 1 และสำเนาทะเบียนบ้านคืนให้กับ ผู้แจ้ง

สถานที่ติดต่อ ที่ว่าการอำเภอ หรือสำนักงานเขต

การแจ้งเกิดในต่างประเทศ

 

กรณีที่คนไทยเกิดในต่างประเทศ บิดา-มารดาจะต้องแจ้งการเกิดของบุตรต่อ กงสุลไทยหรือเจ้าหน้าที่สถานทูตไทยซึ่งกระทรวงการต่างประเทศแต่งตั้งให้เป็นนายทะเบียนผู้รับแจ้ง ณ ประเทศนั้น ๆ ภายใน 15 วัน นับแต่วันเกิด

เมื่อได้รับการแจ้งเกิดแล้วเจ้าหน้าที่สถานกงสุล หรือสถานทูตไทยจะออกสูติบัตรให้บิดา-มารดาเด็ก เพื่อเก็บไว้เป็นหลักฐาน

ในการทำหนังสือเดินทางสำหรับเด็กเพื่อเดินทางกลับ ประเทศไทย ในกรณีที่ประเทศนั้นไม่มีกงสุลไทยหรือสถานทูตไทยประจำอยู่ ให้ใช้หลักฐานการเกิดที่ออกโดยรัฐบาลประเทศนั้น ซึ่งกระทรวงการต่างประเทศได้แปลและรับรองว่าถูกต้องเป็นหลักฐานสูติบัตรได้

 

เอกสารที่ใช้ในการติดต่อ

สำเนาทะเบียนบ้านฉบับเจ้าบ้าน

บัตรประจำตัวประชาชนผู้แจ้ง

หนังสือรับรองการเกิดจากโรงพยาบาล (ถ้ามี)

สถานที่ติดต่อ สถานทูตไทย ซึ่งกระทรวงการต่างประเทศแต่งตั้งให้เป็นนายทะเบียนผู้รับแจ้ง ณ ประเทศนั้น


 การจดทะเบียนรับรองบุตร
 

หลักเกณฑ์ / คุณสมบัติ

เอกสารที่ใช้

บัตรประจำตัวประชาชนผู้เกี่ยวข้อง

ทะเบียนบ้านฉบับเจ้าบ้าน ผู้เกี่ยวข้อง

สูติบัตรของบุตร

หนังสือแสดงความยินยอมของบุตร

หนังสือแสดงความยินยอมของมารดาของบุตร

พยานบุคคล 2 คน

ขั้นตอนการดำเนินงาน

 บิดายื่นคำร้องขอจดทะเบียนรับรองบุตร ต่อนายทะเบียน ณ สำนักทะเบียนอำเภอ กิ่งอำเภอหรือสำนักทะเบียนเขต

เด็กและมารดาเด็ก ต้องให้ความยินยอมในการจดทะเบียนทั้งสองคน ถ้าเด็กหรือมารดาเด็กคนใดคนหนึ่งไม่ให้ความยินยอม หรือไม่อาจให้ความยินยอมได้ เช่น เด็กเป็นผู้เยาว์ไร้เดียงสา มารดาเด็กถึงแก่กรรม เป็นต้น การจดทะเบียนรับรองบุตรต้องมีคำพิพากษาของศาล อื่น ๆ

 
การรับแจ้งเด็กเกณฑ์เข้าเรียน
 

หลักเกณฑ์ / คุณสมบัติ

ผู้ปกครองเด็กที่มีอายุ 7 ปีบริบูรณ์หรือย่างเข้าปีที่ 8 ให้แจ้งเกณฑ์การศึกษาภาคบังคับตาม พ... ประถมศึกษาที่ฝ่ายศึกษาธิการเขต หรือที่โรงเรียนในสังกัดเขต ตั้งแต่วันที่ 1 ธันวาคม ถึง 31 มกราคม ของทุกปี

 

เอกสารที่ใช้

สูติบัตรพร้อมสำเนา 1 ฉบับ

ทะเบียนบ้านพร้อมสำเนา 1 ฉบับ

ภาพประกอบทางอินเทอร์เน็ต

อื่น ๆ

 

การยกเว้นและขอผ่อนผัน

เด็กที่มีอายุครบเกณฑ์การศึกษา และมีร่างการทุพพลภาพไม่สมประกอบ ไม่สามารถเข้าเรียนตามปกติได้ ด้วยสาเหตุใด ๆ ก็ดี ให้ผู้ปกครองของเด็กติดต่อขอรับการยกเว้น การเข้าเรียน

 

หลักฐานที่จะต้องใช้

สูติบัตร

สำเนาทะเบียนบ้าน

ใบรับรองแพทย์

ติดต่อได้ที่ฝ่ายศึกษาธิการ สำนักงานเขตตามหลักฐานผู้แจ้ง

 
หลักเกณฑ์การตั้งชื่อบุคคล
 

หลักเกณฑ์ / คุณสมบัติ

ตามหลักเกณฑ์การเปลี่ยนชื่อตัวและชื่อรอง ตาม พ... ชื่อบุคคล พ.. 2505 ระบุไว้ว่า บุคคลสัญชาติไทย ต้องมีชื่อตัวและชื่อสกุล และอาจจะมีชื่อรองด้วยก็ได้ ทั้งนี้ได้อธิบายความหมายของชื่อตัว ชื่อสกุลและชื่อรองไว้ดังนี้  

ชื่อตัว คือ ชื่อประจำตัวบุคคล

ชื่อรอง คือ ชื่อซึ่งประกอบถัดจากชื่อตัว

ชื่อสกุล คือ ชื่อประจำวงศ์สกุล

 

หลักเกณฑ์การตั้งชื่อตัวและชื่อรอง

ต้องไม่พ้องหรือมุ่งหมายให้คล้ายกับพระปรมาภิไธย หรือพระนามของพระราชินี หรือราชทินนาม  

ต้องไม่เป็นคำหยาบหรือมีความหมายหยาบคาย

ต้องไม่มีเจตนาในทางทุจริต

ผู้ได้รับหรือเคยได้รับพระราชทานบรรดาศักดิ์ โดยมิได้ถูกถอด จะใช้ราชทินนาม ตามบรรดาศักดิ์เป็นชื่อตัวจริง ชื่อรองก็ได้
 
Close หน้าต่างนี้
Go Top